วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

เที่ยวเมืองสองสองแคว










วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรหาวิหาร จ.พิษณุโลก





ประวัติพระพุทธชินราช


เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขไทยปางมารวิชัย ที่มีลักษณะงดงามที่สุดในโลก หล่อด้วยทองสัมฤทธ์ขัดเงาเกลี้ยง สมเด็จพระเอกาทศรถปิดทองเต็มองค์อีกครั้งและเป็นการถาวรจนทุกวันนี้







พระพุทธรูปปางอื่นๆในวิหาร















พระรูปสมเเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกาทศรถแลพฃะพระนางสุพรรณกัลยา
















วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

บทความรายวิชา 213240 บทที่3 สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ














ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับ ธุรกิจภาคเอกชน
ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กต้องการสารสนเทศด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ในงานการทำธุรกิจนั้น บริษัทและผู้บริหารต้องการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ตัดสินใจและแก้ปัญหา หากไม่มีระบบสารสนเทศก็อาจจะเกิดความผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายได้ด้วยเหตุนี้สารสนเทศจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในองค์กรธุรกิจ
ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ
ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนใช้ระบบสารสนเทศในทุกสายงาน ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับประมวลผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติการของทั้งหน่วยงาน

สายงานที่ต้องการระบบสารสนเทศ

*งานบัญชี

*งานการเงิน

*งานการตลาด

*งานผลิต

*งานทรัพยากรมนุษย์

*งานอื่นๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System หรือ DSS)

DSS ได้รับการออกแบบให้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงมีลักษณะการทำงานงานแบบโต้ตอบ(interactive)ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนสามารถควบคุมได้

โดยทั่วไประบบ DSSมีลักษณะสำคัญดังนี้

-สนับสนุนการจัดการทุกระดับ

-สนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหาทุกขั้นตอน

-ผู้ใช้ปรับแต่งให้เข้ากับเงื่อนไขได้

-สร้างใช้ได้ง่ายและช่วยให้เกิดความรู้

-มักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย

-เพิ่มผลผลิต
-ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
-ปรับปรุงการตัดสินใจให้มีคุณภาพมากขึ้น
-เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
-พัฒนางานประยุกต์กลเชิงยุทธ์ใหม่

แหล่งที่มา http://www.hu.ac.th/academic/article/IT/Chairu.htm

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี





พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์)


ตั้งอยู่ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ในตัวเมืองพิษณุโลก เป็นที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ จนถึงชิ้นใหญ่ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องมือดักจับสัตว์ รวมกันแล้วนับหมื่นชิ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยประเภทหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อปี 2541
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “จ่าทวี” : จากความชอบส่วนตัวสู่การเผยแพร่สู่สังคม







พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “จ่าทวี” เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลของ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ ก่อตั้งเมื่อปี 2533 จัดตั้งขึ้นหลังจากที่ท่านได้รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่สะสมไว้เป็นจำนวนมากมาจัดแสดง พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านไทยในอดีตซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านได้อย่างน่าสนใจ และดำเนินการเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมศึกษาหาความรู้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมทั้งนี้ด้วยอุดมการณ์ ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชมอย่างเสมอภาคกัน





"อีหัน" เครื่องมือดักงู

พิพิธภัณฑ์นี้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรงชีวิตจิตใจของ จ่าทวี ชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้สร้างตัวเองขึ้นมาจากความยากจน เคยรับราชการทหาร ต่อมาออกจากราชการเพื่อรับจ้างปั้นหล่อพระพุทธรูป จนมีกิจการโรงหล่อพระเป็นของตนเอง และกิจการนี้เองที่ช่วยให้ จ่าทวี พอมีทุนทรัพย์ซื้อหาข้าวของมาเก็บสะสมตลอด 30 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อแรกเริ่ม จ่าทวี มีความสนใจและตระหนักในคุณค่าของเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่า นำเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการทำงานไปขอแลกซื้อข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นจากชาวบ้าน รวมแล้วเป็นหมื่นๆ ชิ้น ซึ่ง จ่าทวี มีความตั้งใจจะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์



ต่อมาปี 2526 จ่าทวี จึงได้ก่อตั้ง “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ขึ้นตามความตั้งใจ โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้รู้จักรากเหง้าของตนเอง และรู้สึกภาคภูมิกับภูมิปัญญาปู่ย่าตายายของตน โดยไม่เก็บค่าเข้าชม มีเพียงตู้รับบริจาคตามศรัทธาเท่านั้น แต่เพียงแค่ตู้รับบริจาคอย่างเดียวรายได้ก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งหลังจากที่ทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกินรายได้มาถึง 19 ปี โดยไม่มีหน่วยงานใดยื่นมือให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เดือนกรกฎาคม ปี 2546 จึงเป็นครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์จ่าทวี ได้เริ่มเก็บค่าเข้าชมจากผู้ที่มาชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งรายได้ตอนนี้เรียกว่าพอเลี้ยงตัวเองได้

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี มีอาคารจัดแสดงอยู่ 3 หลัง
- อาคารจัดแสดงหลังแรก เป็นที่จัดแสดงภาพถ่ายเก่าๆ ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพิษณุโลก เช่น รูปการออกตรวจราชการในอดีต รูปเหตุการณ์ไฟไหม้เมืองพิษณุโลกเมื่อปี 2500 ฯลฯ
- อาคารจัดแสดงหลังที่ 2 เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านไทยในอดีตที่ส่วนใหญ่ได้มาจากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง เช่น เครื่องมือจับปลา ดักนก ดักหนู ดักลิง รวมไปถึงเครื่องดนตรี และของเล่นเด็กในสมัยก่อน ทั้งยังมีมุมจำลองส่วนต่างๆ ของบ้านเรือนสมัยก่อน เช่น ครัวไฟ เรือนอยู่ไฟหลังคลอดบุตร เป็นต้น
- อาคารจัดแสดงหลังสุดท้าย เป็นที่จัดนิทรรศการชาวโซ่ง หรือที่เรียกกันว่า ลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ในจังหวัดพิษณุโลก ที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรีมานานนับชั่วอายุคนแล้ว




และตอนนี้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี มี คุณพรศิริ บูรณเขตต์ ลูกสาวคนเล็กของจ่าทวี เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์รวมทั้งนำชมพิพิธภัณฑ์เอง และด้วยความที่ คุณพรศิริ เป็นคนรุ่นใหม่ คุยสนุก และใช้การเล่าเรื่องในการนำชมได้อย่างน่าสนใจ เด็กนักเรียนจึงชื่นชอบและชวนให้พ่อแม่ผู้ปกครองพามาชมพิพิธภัณฑ์ที่นี่กันเป็นประจำ


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ตั้งอยู่ที่ 26/138 ถ.วิสุทธิกษัตริย์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักศึกษา (มาเป็นหมู่คณะ) 20 บาท นักเรียน (มาเป็นหมู่คณะ) 10 บาท พระภิกษุ สามเณร นักบวช ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียด โทร. 0-5521-2749, 0-5530-1668

เรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ดำเนินการโดยชาวบ้าน แต่ทำด้วยใจรักและตั้งใจจริง ดังนั้นหากใครที่มีโอกาสได้ผ่านไปแถวๆ จังหวัดพิษณุโลก อย่าลืมแวะเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” เพื่อมาเรียนรู้ชีวิต ความคิด ความเชื่อ และภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายของเราเอง รวมทั้งยังเป็นการให้กำลังใจและสนับสนุน ให้ความตั้งใจดีของชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งได้บรรลุตามความใฝ่ฝันส่วนตัว ที่ไม่ต้องการเก็บความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของคนไทยไว้คนเดียว แต่ยังต้องการถ่ายทอดเผยแพร่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและสังคมอีกด้วย


จ่าสิบเอก ดร. ทวี บูรณเขตต์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้ที่มีฝีมือในทางประติมากรรม และได้รับการเชิดชูเกียรติมากมาย ท่านได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาการช่างฝีมือ แขนงช่างหล่อ ประจำปี 2526 และได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งการประกาศเกียรติคุณเป็น คนดีศรีพิษณุโลก


ที่มา http://gotoknow.org/blog/goodee/92199

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร


"การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านสาธารณสุขและการแพทย์"


สารสนเทศสามารถทำให้เกิดความแพร่หลายในวงการสาธารณสุข มีความสะดวกรวดเร็วในด้านการบริหารดังเช่น
1.ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วp

2.สนับสนุนการเชื่อมโยงโดยระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน สามารถสร้างข้อมูลทางการแพทย์แลกเปลียนข้อมูลของผู้ป่วย
3.สามารถให้คำปรึกาาทางไกลโดยแพทย์ผู้ชำนาญ
4.ช่วยกำหนดนดยบาย

5.ใช้ในด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แหล่งที่มา http:forum.datatan.net/inde.php?topic=1260

เทคโนโลยีการสื่อสารคอมพิวเตอร์(นักศึกษา BM บรรยาย)

วรรณิศา ถนอมวงษ์ "Cellular"ดูบล็อก
ชาญชัย พรมมิ "Microwave"ดูบล็อก
นราพร วิตูล "3G"ดูบล็อก
รพีพรรณ เนื่องอุตม์ "satellite"ดูบล็อก
กนกวรรรณ รอดมณี"Bluetooth " ดูบล็อก
ธนา เกตุชาญ " Wifi " ดูบล็อก
ธเนศ ขวัญเขียว "Wimax"ดูบล็อก
นัท ยิ้มคง "CDMA" ดูบล็อก
วรุณยุภา พุ่มนิล "Optic Fiber"ดูบล็อก
ดารินทร์ สินใจ "GSM"ดูบล็อก